แก้วโป่งข่าม ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในเครื่องรางของขลัง อันเป็นที่ทราบกันดีมาแต่ครั้งโบราณ ในการถือเครื่องรางของขลังนั้น มักจะกำหนดพิธีกรรมและคำสวด ซึ่งเป็นการ กำหนดจิต หรือปรับกระแสพลังจากตัวเราให้กลมกลืนไปกับพลังจากเครื่องรางของขลังนั้น ๆ

คาถาบูชาแก้วโป่งข่าม
ข่ามคง, แคล้วคลาด
(แก้วทุกชนิด)
นะมะพะทะ นิมิพิทิ นุมุพุทุ
พิรุณแสนห่า พุทโธโมเธยยัง มุตโตโมเจยยัง ติณโณตาเรยยัง ปะสะหังปะตัง
หมอกมุงเมือง เทวะรานะมานะ (ภาวนาให้เกิดความร่มเย็น)
แก้วทราย สะมามิมิทธิมามิ (เจริญด้วยสมบัติ ร่ำรวยเงินทอง)
แก้วทุกชนิด นะอุกะอะ นะมะมะอะ มะอุมะนะ อะนะอะมะ อะอุอุมะ อุนะอุอะ
(เจริญด้วยทรัพย์สมบัติ ปราศจากโรคภัย)
การล้างแก้ว
เชื่อกันว่าการล้างแก้วเป็นการชำระล้างสิ่งไม่ดีที่แก้วได้ซึมซับเอาไปจากตัวเรา โดยการนำแก้วไปล้างกับน้ำที่ไหล ซึ่งอาจจะเป็นลำธาร, ก๊อกน้ำ หรือน้ำที่รินออกจากแก้วก็ได้ (ล้างได้บ่อยเท่าที่มีโอกาส)
การขึ้นพานบูชาแก้ว
จะกระทำกันในวันพระ โดยเฉพาะวันพระขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ) โดยการนำเอาน้ำสะอาด 1 แก้ว, ดอกไม้หรือเครื่องหอม (น้ำอบ, แป้งหอม ฯลฯ) ใส่พาน และกำหนดจิตด้วย คาถาบูชาแก้ว (หากเป็น "แก้วเข้าแก้ว" ขอแนะนำให้หาหมากหนึ่งคำใส่พานด้วย)
แก้วอาบแสงจันทร์
การนำแก้วอาบแสงจันทร์ (วันเพ็ญ) เชื่อกันว่า แก้วจะดูดซับพลังจากแสงจันทร์ ซึ่งจะมีผลทำให้แก้วมีพลังอานุภาพมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการทำให้แก้วนั้นบริสุทธิ์อีกด้วย (เป็นที่ทราบกันดีว่า ในทางวิทยาศาสตร์ระบุว่าดวงจันทร์มีพลังที่ส่งผลกระทบถึงโลก อันเป็นสาเหตุของน้ำขึ้น น้ำลง และอื่น ๆ)
การเข้าร่วมพิธีกรรม
การนำแก้วเข้าร่วมพิธีกรรมต่าง ๆ ของพระภิกษุสงฆ์ เนื่องจากแก้วจะได้ซึมซับพลังจากการแผ่เมตตาจิตของพระภิกษุ